กติกาการแข่งขัน (Junior)

วัตถุประสงค์และรูปแบบของการแข่งขัน

พัฒนาศักยภาพด้านปัญญาประดิษฐ์และการประมวลผลด้วยภาพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ผ่านโจทย์จำลองการทำงานของรถขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ควบคุมการเคลื่อนที่ผ่านปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้เข้าแข่งขัน ทำงานร่วมกับการอ่านหรือตรวจจับ Apriltag ผ่านกระบวนการประมวลผลด้วยภาพ เพื่อส่งสินค้าให้ตรงตามเป้าหมาย

สถานที่จัดการแข่งขัน

ลานกิจกรรมชั้น 2 ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต

กติกาและข้อกำหนดการแข่งขัน

1.ผู้เข้าแข่งขัน

  • 1.1 ทีมผู้เข้าแข่งขันหุ่นยนต์ประกอบด้วยผู้เข้าแข่งขัน 1-2 คน และอาจาร์ยที่ปรึกษา 1 คน
  • 1.2 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องมีอายุตั้งแต่ 13 ปี ไปจนถึงอายุ 18 ปี โดยนับจากปีเกิด
  • 1.3 ผู้เข้าแข่งขัน 1 คนสามารถมีรายชื่อเป็นผู้เข้าแข่งขันได้เพียง 1 ทีมเท่านั้น
  • 1.4 อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คนสามารถดูแลทีมได้หลายทีม

2.รูปแบบสนามแข่งขัน

พื้นสนามเป็นพื้นเรียบทำจากไม้หรือวัสดุอื่นๆ อาจมีรอยต่อและความต่างระดับเกิดขึ้น โดยมีความหนาอย่างน้อย 5 mm และมีขนาดประมาณ 7200 mm x 4800 mm สร้างเป็นพื้นที่เมืองจำลองประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้

2.1 พื้นที่เริ่มต้นการทำงานของหุ่นยนต์มีขนาด 800 x 800 mm รับสินค้ามีขนาด 800 x 800 mm ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานของหุ่นยนต์และใช้รับสินค้าเพื่อไปส่งยังปลายทาง

2.2 เส้นทางสำหรัยหุ่นยนต์เส้นทางสำหรับหุ่นยนต์ที่มีความกว้างของทางไม่น้อยกว่า 800 mm โดยแบ่งเป็น 2 ช่องทางด้วยเส้นปะสีเหลืองที่มีความกว้าง 25 mm และมีเส้นขอบด้านข้างเป็นเส้นต่อเนื่องสีขาวขนาดความกว้าง 25 mm ไปตามเส้นทางทั้ง 2 ด้าน รูปแบบเส้นทางมีทั้งทางตรง ทางโค้ง และทางแยก เส้นทางจะห่างจากขอบสนามแข่งขันอย่างน้อย 100 mm

2.3 ตึกและอาคารสร้างขึ้นเป็นทรงสี่เหลี่ยมที่มีขนาด 300 mm x 300 mm และมีความสูงอย่างน้อย 300 mm เรียงอยู่ตาม 2 ข้างทางเป็นระยะ เลขที่ของอาคารต่าง ๆ จะถูกระบุด้วย AprilTag ขนาดประมาณ 100 x 100 mm. ติดตั้งสูงขึ้นจากพื้นประมาณ 100 mm. และมีเส้นแบ่งเขตของอาคารแต่ละอาคารบริเวณพื้นที่ด้านหน้าเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับวางกล่องภาระกิจ Bonus

2.4 พื้นที่ข้างสนามแข่งขันพื้นที่โดยรอบสนามแข่งขันอาจเป็นสีใดก็ได้โดนจะมีแนวกั้นที่ห่างจากขอสนามสนามอย่างน้อยด้านละ 1000 mm. เพื่อป้องกันผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้ามารบกวนการทำงานของหุ่นยนต์

2.5 สิ่งกีดขวาง บนเส้นทางจะมีสิ่งกีดกขวางที่หุ่นยนต์จะต้องเคลื่อนที่เพื่อหลบ 1 ชนิดด้วยกันคือ กรวยจราจรขนาดกว้างไม่เกิน 80 mm. และสูงไม่เกิน 80 mm. มีจำนวนไม่เกิน 6 ชิ้นตลอดการแข่งขัน

2.6 รูปแบบของกล่องสินค้าที่ต้องส่งจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 50 mm และสูง 50 mm มีน้ำหนักไม่เกิน 200 กรัม สร้างด้วยด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติมีอาจหลายสี พิมพ์ด้วยวัสุ PLA (Wall 1.2  mm Top/Buttom 1.2 mm Infill 25% อาจมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการพิมพ์แต่จะมีน้ำหนักไม่เกิน 200 กรัม)  โดยจะมี AprilTag เพื่อระบุปลายทางซึ่ง AprilTag ของกล่องพัสดุจะตรงกับ AprilTag ที่อยู่ด้านหน้าแท่นวางปกติ และหน้าอาคารสำหรับวางกล่องภาระกิจ Bonus

รูปภาพอย่างสนามการแข่งขัน

3. ข้อกำหนดของหุ่นยนต์

3.1 หุ่นยนต์จะต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 25×20 เซ็นติเมตร ไม่จำกัดความสูงและน้ำหนัก
3.2 ไม่จำกัดชนิดและจำนวนของบอร์ดควบคุม และเซ็นเซอร์ที่ใช้งานสร้างหุ่นยนต์ แต่ต้องแสดงให้เห็นถึงลักษณะการทำงานด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการประมวลผลด้วยภาพตามวัตถุประสงค์การแข่งขัน กรรมการอาจขอตรวจสอบหากมีข้อสงสัยว่าการทำงานของหุ่นยต์ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการแข่งขัน

3.3 หุ่นยนต์จะสร้างขึ้นจากชิ้นส่วนสำเร็จรูป หรือชิ้นส่วนที่สร้างขึ้นเองก็ได้ แต่ต้องไม่สร้างความเสียหายให้กับสนามแข่งขัน

3.4 หุ่นยนต์ต้องขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่อยู่บนตัวหุ่นยนต์เท่านั้น ไม่จำกัดกระแสและแรงดันสำหรับแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า

3.5 การขับเคลื่อนและควบคุมทิศทางของหุ่นยนต์

  • 3.5.1 หุ่นยนต์จะมีล้อทั้งหมด 4 ล้อ (จะเป็นล้อขับเคลื่อนทั้งหมดหรือไม่ก็ได้)
  • 3.5.2 ห้ามใช้ล้อประเภท Omni หรือ Mecanum เป็นส่วนประกอบในการขับเคลื่อนหรือพยุงหุ่นยนต์
  • 3.5.3 ห้ามหุ่นยนต์เคลื่อที่ด้วยวิธีการลอยตัวขึ้นเหนือพื้นสนาม

3.6 ห้ามใช้อุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อการแข่งขัน

3.7 ผู้เข้าแข่งขันต้องเตรียมพร้อมในการแก้ไขปัญหาในด้านแสงสว่าง การสะท้อนของแสงบนสนามแข่งขัน สนามแม่เหล็ก รวมไปถึงสัญญาณการสื่อสารที่อาจไม่คงที่และมีสัญญาณรบกวน

3.8 หากจำเป็นต้องมีการสื่อสารไร้สายขอให้ผู้เข้าแข่งขันนำอุปกรณ์สำหรับการสื่อสารมาเอง

4.  รูปแบบการแข่งขัน

การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ช่วงดังนี้

4.1 รอบที่คัดเลือก เป็นการแข่งขันเพื่อบันทึกคะแนนโดยแต่ะทีมจะมีโอากาสได้ลงแข่งขันภาระกิจอย่างน้อยทีมละ 2 ครั้ง เวลาในการทำภาระกิจรอบละ 5 นาที (เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) โดยจะนำคะแนนรอบที่ดีที่สุดมาใช้ในการจัดอันดับ และนำทีมที่ได้อันดับ 1 – 8 เข้ารอบชิงชนะเลิศ

4.2 รอบชิงชนะเลิศ เป็นการแข่งขันเพื่อบันทึกคะแนนโดยแต่ะทีมจะมีโอากาสได้ลงแข่งขันภาระกิจทีมละ 2 ครั้ง เวลาในการทำภาระกิจรอบละ 5 นาที (เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) โดยจะนำคะแนนทั้ง 2 ครั้งมารวมกันเพื่อใช้ในการจัดอันดับ

5. การแข่งขันภาระกิจและการให้คะแนนภาระกิจ

การแข่งขันภาระกิจจะมีการแข่งขันอย่างน้อยทีมละ 2 ครั้งในรอบแรก และในรอบชิงชนะเลิศ ในแต่ละครั้งกล่องพัสดุและกล่อง Bonus จะสุ่มแยกของแต่ละทีมไม่เหมือนกันโดยให้ผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้สุ่มเองเพื่อใช้ในการแข่งขันรอบนั้นๆก่อนเริ่มแข่งขัน ตำแหน่ง AprilTag บนด้านหน้าอาคารจะมีการเปลี่ยนทุกรอบการแข่งขันหลังจากผู้เข้าแข่งขันทุกทีมส่งหุ่นยนต์ครบแล้ว

5.1 ทุกครั้งที่หุ่นยนต์คลื่อนที่ออกจากจุด Start จะต้องมีกล่องมาด้วยอย่างน้อย 1 กล่อง หากไม่มีให้ถูกบังคับรีไทล์

5.2 หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปในทิศทางที่กำหนดและหลบสิ่งกีดขวาง หากมีการสัมผัสสิ่งกีดขวางจะถูกหัก 5 คะแนนต่อครั้ง และถูกบังคับรีไทล์ โดยเวลาในการแข่งขันยังคงดำเนินต่อไป

5.3 หากในระหว่างทางหุ่นยนต์สามารถตรวจจับป้ายบนอาคารว่าตรงกับกล่อง Bonus ที่นำมาด้วย หุ่นยนต์สามารถนำกล่อง Bonus ส่งยังไปยังพื้นที่หน้าตึกได้ทันทีโดยไม่จำกัดวิธีการ หากมีพื้นที่ของกล่องอย่างน้อย 50% อยู่ในพื้นที่อาคารที่ถูกต้อง จะได้ 20 คะแนน แต่หากส่งผิดหรือไม่อยู่ในพื้นที่ของตึกใดเลยจะถูกหัก 30 คะแนน และถือว่าเป็นอุปสรรค์ในการแข่งขัน กรรมการจะนำออกเมื่อจบการแข่งขันแล้วเท่านั้น

5.4 เมื่อหุ่นยนต์เคลื่อนที่ครบรอบมาถึงทางแยกอีกครั้ง กรรมการจะบันทึกเวลาเพื่อเป็นคะแนนส่วนที่ 1 โดยใช้เวลาที่เหลือจาก 5 นาทีที่เริ่มต้นมาคิดเป็นคะแนน มีค่า 1 วินาทีเป็น 1 คะแนน เศษของวินาทีไม่นำมานับ บวกด้วยคะแนนจากกล่อง Bonus และคะแนนในส่วนของการหลบสิ่งกีดขวาง โดยเวลาในการแข่งขันยังคงดำเนินต่อไป

5.5 คะแนนในส่วนที่ 2 ของการแข่งขันเกิดจากภาระกิจการวางกล่องพัสดุให้ตรงตามตำแหน่งที่ถูกต้อง เมื่อกล่องสัมผัสกับพื้น และไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของหุ่นยนต์สัมผัสกับกล่อง กรรมการจะถือว่าจบการแข่งขัน หากวางกล่องได้ถูกต้องจะได้ 50 คะแนน หากหมดเวลาการแข่งขันแล้วหุ่นยนต์ไม่สามารถวางกล่องพัสดุได้คะแนนในส่วนที่หนึ่งยังคงเดิมแต่จะไม่ได้คะแนนในส่วนที่ 2

5.6 หากหมดเวลาการแข่งขันแล้วหุ่นยนต์ไม่สามารถวิ่งครบรอบมาถึงทางแยกได้จะไม่มีคะแนนในรอบนั้นๆ

5.7 หากล่องพัสดุหล่นระหว่างทาง จะถูกบังคับรีไทล์และสามารถนำกล่องมาบรรจุลงหุ่นยนต์ได้ใหม่ แต่หากเป็นกล่อง Bonus ที่หล่นจะถือว่าเป็นอุปสรรค์ในสนามและดำเนินการแข่งขันต่อไป

6. การเริ่มต้นการแข่งขัน และการยุติการแข่งขัน

6.1 การเริ่มต้นการแข่งขันภาระกิจ เมื่อถึงเวลาตามกำหนดการแข่งขันผู้เข้าแข่งขันออกจากสนามแข่งขัน เพื่อให้กรรมการตรวจสอบความเรียบร้อยของสนาม ผู้เข้าแข่งขันอยู่ประจำพื้นที่ของทีมตนเอง 

  • 6.1.1 เมื่อกรรมการประกาศเรียกเก็บหุ่นยนต์ให้นำหุ่นยนต์มาส่งในพื้นที่ส่งหุ่นยนต์เพื่อบันทึกคุณสมบัตรของหุ่นยนต์ โดยหุ่นยนต์ทุกตัวจะต้องปิด Switch ไม่ให้มีการทำงานใดๆ ในระหว่างก่อนการแข่งขันของทีมตนเอง ผู้เข้าแข่งขันทุกทีมทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องระหว่างการแข่งขันของทีมอื่น
  • 6.1.2 กรรมการจะทำการสุ่มตำแหน่งที่ตั้งของตึกต่างๆ
  • 6.1.3 เมื่อถึงลำดับการแข่งขันให้ผู้เข้าแข่งขันสุ่มเลือกกล่องพัสดุ และกล่อง Bonus อย่างละ 1 กล่องเพื่อใช้ในการแข่งขันในรอบของทีมตนเอง โดยกรรมการจะนำด้านที่มี AprilTag คว่ำลงพื้น
  • 6.1.4 ผู้เข้าแข่งขันนำหุ่นยนต์ของทีมตนเองจากพื้นที่ส่งหุ่นยนต์มายังสนามแข่งขันทันทีเมื่อกรรมการให้สัญญาน
  • 6.1.5 กรรมการจะให้สัญญาณเริ่มจับเวลาทันที ผู้เข้าแข่งขันสามรถเริ่มดำเนินการ Setup และสามาถขอยุติการแข่งขันได้ ตลอดภายในระยะเวลา  5 นาที กรรมการจะบันทึกคะแนนและรีไทล์ไว้
  • 5.1.6 ผู้เข้าแข่งขันตรวจสอบคะแนนและเซ็นรับทราบคะแนนจากกรรมการ

6.2 การยุติการแข่งขันสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อ 

  • 6.2.1 หุ่นยนต์วิ่งครบรอบมาถึงทางแยกอีกครั้ง และผู้เข้าแข่งขันแจ้งขอยุติการแข่งขัน
  • 6.2.2 หุ่นยนต์วิ่งครบรอบมาถึงทางแยกอีกครั้ง และวางกล่องภาระกิจ กรรมการจะประกาศยุติการแข่งขัน
  • 6.2.3 หุ่นยนต์ยังวิ่งไม่ครบรอบ และผู้เข้าแข่งขันขอยุติการแข่งขัน กรรมการจะบันทึกคะแนนเป็น 0
  • 6.2.4 หากเกิดเหตุการณ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อการแข่งขัน หรือผู้เข้าร่วมกิจกรรม กรรมการสามารถพิจารณายุติการแข่งขันได้ทันที 

7. การขอรีไทล์

การรีไทล์จะเกิดขึ้นโดยกรรมการเท่านั้นเมื่อกรรมการอนุญาติผู้เข้าแข่งขันสามารถเข้าไปนำหุ่นยนต์กลับมายังจุดเริ่มต้นได้และหากมีพัสดุยังอยู่บนตัวหุ่นยนต์ให้นำกล่องพัสดุนั้นกลับมาวางไว้ในพื้นที่คลังพัสดุก่อนแล้วค่อยนำกลับเข้าไปบนตัวหุ่นยนต์ได้ โดยเวลายังคงเดินต่อไปและกรรมการจะบันทึกจำนวนรีไทล์ไว้เป็นสถิติ การรีไทล์จะเกิดขึ้นได้จากเหตุการดังต่อไปนี้

  • 7.1 หุ่นยนต์ออกนอกสนามแข่งขัน
  • 7.2 หุ่นยนต์ชนสิ่งกีดขวาง
  • 7.3 หุ่นยนต์ลัดเส้นทาง
  • 7.4 หุ่นยนต์หยุดนิ่งหรือไม่มีการทำงานเป็นระยะเวลานานกว่า 10 วินาที (เวลาอาจเปลี่ยนแปลงตามดุลพินิจของกรรมการ)
  • 7.5 ในภาระกิจส่งกล่องพัสดุหลักที่ปลายทางจะไม่มีการีไทล์

8. การจัดอันดับ

8.1 การจัดอันดับการแข่งขันรอบคัดเลือกกรรมการจะนำคะแนนรอบที่ดีที่สุดมาใช้ในการจัดอันดับ โดยใช้คะแนนมาเรียงลำดับ

8.1.1 กรณีที่คะแนนเท่ากัน

  • 8.1.1.1 หากคะแนนรอบที่ดีที่สุดเท่ากันให้นำคะแนนของอีกรอบมารวมกันเพื่อใช้ในการจัดอันดับ
  • 8.1.1.2 หากคะแนนรวมทุกรอบเท่ากันให้นับจำนวน รีไทล์
  • 8.1.1.3 หากคะแนนรวมเท่ากัน และจำนวนรีไทล์เท่ากันกรรมการจะให้เข้ารอบด้วยกัน

8.2 การจัดอันดับการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ให้ยกเลิกคะแนนในรอบแรกของทุกทีมและเริ่มนับคะแนนใหม่ โดยใช้คะแนนภาระกิจทั้ง 2 ครั้งมารวมกัน

  • 8.2.1 หากคะแนนรวมเท่ากันให้นับจำนวน รีไทล์
  • 8.2.1 หากคะแนนรวมเท่ากัน และจำนวนรีไทล์เท่ากันให้จัดการแข่งขันแบบพบกันและเพิ่มสิ่งกีดขวางในสนามอีกจำนวน 2 ชิ้น ทีมที่ทำคะแนนได้ดีกว่าจะได้อันดับที่ดีกว่า

8.3 หากเกิดเหตุการใดในการแข่งขันที่แสดงให้เห็นถึงการไม่ทำตามวัตถุประสงค์ของการแข่งขัน กรรมการมีสิทธิ์กำหนดข้อปฏิบัติรวมไปถึงวิธีการให้คะแนนได้ในการแข่งขันนั้นๆ และให้ยึดถือคำตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

9. การผิดกติกา

9.1 ผู้แข่งขันที่กระทำการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะโดยวาจาหรือการกระทำ หรือให้หุ่นยนต์ส่งเสียง, แสดงข้อความ หรือแสดงอากัปกริยาอันเป็นการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม จะถูกปรับแพ้

9.2 หากผู้แข่งขันกระทำการดังต่อไปนี้ จะถือว่าผิดกติกาและปรับแพ้เช่นกัน

  • 9.2.1 ต้องไม่ทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการทำงานของหุ่นยนต์ของคู่แข่งขัน เช่น การส่งแสงอินฟราเรดเหรือสัญาณ Network เข้าไปรบกวนการทำงานของหุ่นยนต์ทีมอื่นที่กำลังแข่งขัน
  • 9.2.2 เข้าไปในพื้นที่ของสนามในระหว่างการแข่งขันของทีมอื่น
  • 9.2.3 โยนหรือนำชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ เข้าไปในพื้นที่ของสนามในระหว่างการแข่งขันของทีมอื่น
  • 9.2.4 กระทำการใดๆ ที่ทำให้การแข่งขันหยุดลงโดยไม่มีเหตุผลอันควร
  • 9.2.5 กระทำการใดก็ตามที่ไม่สุภาพและทำให้เกิดการเสื่อมเสียต่อการแข่งขัน
  • 9.2.6 แสดงเจตนาในการไม่ทำภาระกิจตามวัตถุประสงค์และรูปแบบของการแข่งขัน

9.3 ถูกตรวจสอบได้ว่ามีการควบคุมหุ่นยนต์ด้วยวิธีการใดๆ โดยมนุษย์

9.4 ทำผิดกติกาในข้อที่ 1 หรือข้อที่ 3

10. การประท้วง

การประท้วงใดๆ กระทำภายในเวลาการแข่งขันของรอบนั้นโดยต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนมาแสดงต่อคณะกรรมการโดยกาารตัดสินการประท้วงหากอยู่ในช่วงเวลาแข่งขันจะหยุดเวลาในการแข่งขันและใช้เวลาในการตัดสินไม่เกิน 5 นาที คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด หากทีมใดกระทำการประท้วงโดยไร้เหตุผลและหลักฐานอันสมควรกรรมการอาจพิจรณาตัดสิทธิ์ทีมนั้นได้

11. รางวัลของการแข่งขัน

  • 11.1 รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล 10,000 บาท 1 รางวัล
  • 11.2 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล 7,000 บาท 1 รางวัล
  • 11.3 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล 5,000 บาท 1 รางวัล
  • 11.4 รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม เกียรติบัตร และเงินรางวัล 3,000 บาท 2 รางวัล

หมายเหตุ : กติกาอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยจะมีประกาศทั้งทางเว็บไซต์และ Facebook ขอให้ผู้เข้าแข่งขันติดตามประกาศ