กติกาการแข่งขัน (Major)
วัตถุประสงค์และรูปแบบการแข่งขัน
พัฒนาศักยภาพในการสร้างหุ่นยนต์แบบเคลื่อนที่ได้สำหรับใช้ในงานขนส่งสิ่งของต่างได้อย่างถูกต้อง เพื่อพัฒนาและต่อยอดสู่การสร้างธุรกิจ
สถานที่จัดการแข่งขัน
ลานกิจกรรมชั้น 2 ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต
กติกาและข้อกำหนดการแข่งขัน
1.ผู้เข้าแข่งขัน
- 1.1 ทีมผู้เข้าแข่งขันหุ่นยนต์ประกอบด้วยผู้เข้าแข่งขัน 1-4 คนและอาจาร์ยที่ปรึกษา 1 คน
- 1.2 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องมีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป โดยนับจากปีเกิด
- 1.3 ผู้เข้าแข่งขัน 1 คนสามารถมีรายชื่อเป็นผู้เข้าแข่งขันได้เพียง 1 ทีมเท่านั้น
- 1.4 อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คนสามารถดูแลทีมได้หลายทีม
2.รูปแบบสนามแข่งขันและอุปกรณ์
พื้นสนามเป็นพื้นปูน(พื้นของศูนย์การค้า) อาจมีรอยต่อและความต่างระดับ ขนาดพื้นที่ประมาณ 240×480 เซ็นติเมตร ล้อมรอบด้วยแผ่นไม้เป็นหนา 20 mm มีความสูงประมาณ 60 เซ็นติเมตรเป็นพื้นที่ของการแข่งขัน ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆดังนี้
2.1 พื้นที่เริ่มต้นของหุ่นยนต์มีขนาด 80×80 เซ็นติเมตรและมีช่องทางยาวไปจนถึงสุดขอบสนามเพื่อให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปยังส่วนพื้นที่ภาระกิจ
2.2 พื้นที่ทำภาระกิจมีขนาดภายในประมาณ 476 x 154 เซ็นติเมตร แบ่งออกเป็น
2.2.1 ห้องอ่านป้ายภาระกิจขนาดประมาณ 60×66 เซ็นติเมตรจำนวน 1 ห้อง ภายในจะมีป้ายบอกภาระกิจเป้าหมาย ขนาด 29.7×21 เซ็นติเมตร ติดอยู่บนผนังด้านในโดยเว้นระยะจากขอบด้านบนผนังประมาณ 10 เซ็นติเมตร
2.2.2 ห้องสำหรับส่งของขนาดประมาณ 60×80 เซ็นติเมตรจำนวน 5 ห้อง ภายในห้องจะมีแท่นขนาด 20×20 สูง 40 เซ็นติเมตรสำหรับวางกล่องภาระกิจ

ภาพอธิบายลักษณะสนามแข่งขัน (Top View)
2.3 กล่องภาระกิจเป็นกล่องประกอบขึ้นจากแผ่นอะครีลิคหนา 4 มิลลิเมตร มีขนาดประมาณ 15x15x15 เซ็นติเมตร สีขาวจำนวน 5 กล่อง แต่ละกล่องจะมีสัญลักษณ์อยู่ 1 ด้านแตกต่างกันออกไปประกอบด้วยสัญลักษณ์ วงกลม, สามเหลี่ยม, สี่เหลี่ยม, ห้าเหลี่ยม และ กากบาท เพื่อใช้เปรียบเทียบกับป้ายภาระกิจในการไปส่งยังห้องต่างๆ
2.4 ป้ายบอกภารกิจมีขนาดเท่ากระดาษ A4 (29.7 x 21 เซ็นติเมตร) ประกอบด้วยข้อมูลจำนวน 3 แถวดังต่อนี้
2.4.1 แถวบนสุดหมายเลขห้อง แทนที่ด้วยวงกลม 3 วงเรียงต่อกันอ่านค่าเป็นเลนฐาน 2 จำนวน 3 หลัก กำหนดให้สีดำมีค่าเป็น 0 และสีขาวมีค่าเป็น 1
2.4.2 แถวที่กลางแสดงสัญลักษณ์ของกล่องภาระกิจ
2.4.3 แสดงลำดับในการส่งด้วยตัวเลข 1 ถึง 5

ภาพแสดงตัวอย่างป้ายภาระกิจ
3.หุ่นยนต์
3.1 หุ่นยนต์จะต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 40×40 เซ็นติเมตร ไม่จำกัดความสูงและน้ำหนัก
3.2 ไม่จำกัดชนิดและจำนวนของบอร์ดควบคุม และเซ็นเซอร์ที่ใช้งานสร้างหุ่นยนต์ แต่ต้องแสดงให้เห็นถึงลักษณะการทำงานด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการประมวลผลด้วยภาพตามวัตถุประสงค์การแข่งขัน กรรมการอาจขอตรวจสอบหากมีข้อสงสัยว่าการทำงานของหุ่นยต์ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการแข่งขัน
3.3 หุ่นยนต์จะสร้างขึ้นจากชิ้นส่วนสำเร็จรูป หรือชิ้นส่วนที่สร้างขึ้นเองก็ได้ แต่ต้องไม่สร้างความเสียหายให้กับสนามแข่งขัน
3.4 หุ่นยนต์ต้องขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่อยู่บนตัวหุ่นยนต์เท่านั้น ไม่จำกัดกระแสและแรงดันสำหรับแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า
3.5 หุ่นยนต์จะต้องขับเคลื่อนด้วยล้อเท่านั้นโดยไม่จำกัดจำนวนหรือชนิดของมอเตอร์และล้อ
3.6 ห้ามใช้อุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อการแข่งขัน
3.7 ผู้เข้าแข่งขันต้องเตรียมพร้อมในการแก้ไขปัญหาในด้านแสงสว่าง การสะท้อนของแสงบนสนามแข่งขัน สนามแม่เหล็ก รวมไปถึงสัญญาณการสื่อสารที่อาจไม่คงที่และมีสัญญาณรบกวน
3.8 หากจำเป็นต้องมีการสื่อสารไร้สายขอให้ผู้เข้าแข่งขันนำอุปกรณ์สำหรับการสื่อสารมาเอง
4.รูปแบบการแข่งขัน
การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ช่วงดังนี้
4.1 รอบที่คัดเลือก เป็นการแข่งขันเพื่อบันทึกคะแนนโดยแต่ะทีมจะมีโอากาสได้ลงแข่งขันภาระกิจอย่างน้อยทีมละ 3 ครั้ง เวลาในการทำภาระกิจรอบละ 5 นาที (เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) โดยจะนำคะแนนรอบที่ดีที่สุด 2 รอบมารวมกันเพื่อใช้ในการจัดอันดับ และนำทีมที่ได้อันดับ 1 – 8 เข้ารอบชิงชนะเลิศ
4.2 รอบชิงชนะเลิศ เป็นการแข่งขันเพื่อบันทึกคะแนนโดยแต่ะทีมจะมีโอากาสได้ลงแข่งขันภาระกิจทีมละ 2 ครั้ง เวลาในการทำภาระกิจรอบละ 5 นาที (เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) โดยจะนำคะแนนทั้ง 2 ครั้งมารวมกันเพื่อใช้ในการจัดอันดับ
5.การแข่งขันภาระกิจ
การแข่งขันภาระกิจจะมีการแข่งขันอย่างน้อยทีมละ 3 ครั้งในรอบแรก และ 2 ครั้งในรอบชิงชนะเลิศ ป้ายภาระกิจจะเปลี่ยนทุกรอบการแข่งขันหลังจากผู้เข้าแข่งขันทุกทีมส่งหุ่นยนต์ครบแล้ว โดยทุกทีมจะใช้ป้ายภาระกิจเดียวกันในแต่ละรอบการแข่งขัน
5.1 เมื่อกรรมการประกาศส่งหุ่นยนต์ให้ทุกทีมนำหุ่นยนต์มาส่งภายในเวลาที่กำหนด หากทีมใดไม่นำมาส่งในเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ในการแข่งขันรอบดังกล่าว โดยกรรมการจะสอบถามถึงปุ่มเริ่มต้นการทำงาน ปุ่มรีเซ็ต และปุ่มหยุดฉุกเฉิน (หากมี)
5.2 กรรมการจะทำการติดป้ายภาระกิจเพื่อใช้ในการแข่งขัน และเรียกแต่ละทีมมาทำการแข่งขันตามลำดับ
5.3 เมื่อกรรมการเรียกทีมใด ขอให้ทีมนั้นนำหุ่นยนต์มายังพื้นที่ Start เมื่อมาถึงพื้นที่ Start แล้วกรรมการจะเริ่มจับเวลาทันที ผู้เข้าแข่งขันจึงสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้หุ่นยนต์ทำงานได้
5.4 ผู้เข้าแข่งขันบรรจุกล่องเข้าในตัวหุ่นยนต์อย่างน้อย 1 กล่อง
5.4 ในการเริ่มต้นการทำงานของหุ่นยนต์จะต้องกดเริ่มต้นด้วยปุ่มเพียงปุ่มเดียวที่แจ้งต่อกรรมการไว้ในขั้นตอนการส่งหุ่นยนต์เท่านั้น
5.5 ผู้เข้าแข่งขันสามารถขอรีไทล์ได้ตลอดการแข่งขัน กรรมการจะบันทึกจำนวนการรีไทล์
5.6 ผู้เข้าแข่งขันสามารถขอยุติการแข่งขันได้ตลอดเวลาการแข่งขัน โดยกรรมการจะบันทึกเวลาเป็น 5 นาทีและคะแนนบันทึกตามจริงหากเป็นขอยุติการแข่งขันโดยที่กล่องยังถูกส่งไม่ครบ
6. การให้คะแนนและการจัดอันดับ
การคิดคะแนนจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เข้าแข่งขันขอยุติการแข่งขันหรือ การแข่งขันเสร็จสิ้น (กล่องทั้ง 5 ถูกวางอยู่บนแท่นวาง) โดยจะคิดคะแนนดังต่อไปนี้
6.1 หุ่นยนต์สามารถวางกล่องได้ถูกต้องตรงตามหมายเลขห้องที่ระบุในป้ายภาระกิจ โดยทุกส่วนของกล่องจะต้องอยู่ในพื้นที่ของแท่นวาง จะได้กล่องละ 20 คะแนน
6.2 หุ่นยนต์สามารถวางกล่องได้ตามเงื่อนไขในข้อที่ 6.1 และลำดับในการส่งตรงตามป้ายภาระกิจจะได้คะแนน x2 ในกล่องนั้นๆ
6.3 หากหุ่นยนต์สามารถทำภาระกิจในข้อ 6.1 และ 6.2 ได้ถูกต้องทั้งหมด 5 กล่อง จะได้คะแนนโบนัส 100 คะแนน
6.4 การจัดอันดับในรอบแรก จะนำคะแนน 2 รอบที่ดีที่สุดมารวมกัน แล้วเรียงตามลำดับคะแนน
6.5 ทีมที่มีคะแนนเท่ากันจะนำคะแนนของอีกรอบมารวมเพื่อจัดอันดับของเฉพาะทีมที่มีคะแนนเท่ากัน หากคะแนนทั้ง 3 รอบรวมกันแล้วยังคงเท่ากัน กรรมการจะดูเวลารวมทั้ง 3 รอบ เพื่อให้ได้ทีมเข้ารอบจำนวน 8 ทีม
6.6 การจัดอันดับในรอบชิงชนะเลิศ จะใช้คะแนนทั้ง 2 รอบมารวมกันเพื่อจัดอันดับ หากคะแนนเท่ากัน กรรมการจะดูเวลารวม หากเวลาเท่ากัน จะดูจำนวนครั้งในการรีไทล์
7. การขอรีไทล์
7.1 การขอรีไทล์ผู้เข้าแข่งขันจะต้องยกมือและพูดคำว่า “รีไทล์” เมื่อกรรมการอนุญาตจึงจะสามารถนำหุ่นยนต์กลับมายังจุด Start ได้
7.2 ไม่อนุญาตให้แก้ไขโปรแกรมในการีไทล์
7.3 การซ่อมแซมหุ่นยนต์สามารถกระทำได้โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือเข้ามาในสนามตั้งแต่เริ่มต้นการแข่งขัน
7.4 การเปลี่ยนชิ้นส่วนของหุ่นยนต์สามารถกระทำได้แต่จะต้องไม่ทำให้กลไกการทำงานหรือรูปร่างของหุ่นยนต์เปลี่ยนแปลงไปจากตอนส่งหุ่นยนต์ ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแบตเตอรี่ในระหว่างเวลาแข่งขัน
7.5 ในกรณีที่มีชิ้นส่วนเสียหายอนุญาติให้สามารถถอดออกได้โดยถือว่าไม่ผิดกติกาในข้อ 7.4 เว้นแต่กรรมการเห็นว่าเป็นการจงใจทำให้เสียหายโดยผู้เข้าแข่งขัน หรือชิ้นส่วนที่ถอดออกไม่ได้เสียหายเพื่อผลประโยชน์ในการแข่งขันของทีมตนเอง
8. การผิดกติกา
8.1 ผู้แข่งขันที่กระทำการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะโดยวาจาหรือการกระทำ หรือให้หุ่นยนต์ส่งเสียง, แสดงข้อความ หรือแสดงอากัปกริยาอันเป็นการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม จะถูกปรับแพ้
8.2 หากผู้แข่งขันกระทำการดังต่อไปนี้ จะถือว่าผิดกติกาและปรับแพ้เช่นกัน
- 8.2.1 ต้องไม่ทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการทำงานของหุ่นยนต์ของคู่แข่งขัน เช่น การส่งแสงอินฟราเรดเหรือสัญาณใดๆ เข้าไปรบกวนการทำงานของหุ่นยนต์ทีมอื่นที่กำลังแข่งขัน
- 8.2.2 เข้าไปในพื้นที่ของสนามในระหว่างการแข่งขันของทีมอื่น
- 8.2.3 โยนหรือนำชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ เข้าไปในพื้นที่ของสนามในระหว่างการแข่งขันของทีมอื่น
- 8.2.4 กระทำการใดๆ ที่ทำให้การแข่งขันหยุดลงโดยไม่มีเหตุผลอันควร
- 8.2.5 กระทำการใดก็ตามที่ไม่สุภาพและทำให้เกิดการเสื่อมเสียต่อการแข่งขัน
- 8.2.6 แสดงเจตนาในการไม่ทำภาระกิจตามวัตถุประสงค์และรูปแบบของการแข่งขัน
8.3 ถูกตรวจสอบได้ว่ามีการควบคุมหุ่นยนต์ด้วยวิธีการใดๆ โดยมนุษย์
8.4 ทำผิดกติกาในข้อที่ 1 หรือข้อที่ 3 รวมไปถึงข้อ 7.4 และ 7.5
9. การประท้วง
การประท้วงใดๆ กระทำภายในเวลาการแข่งขันของรอบนั้นโดยต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนมาแสดงต่อคณะกรรมการโดยกาารตัดสินการประท้วงหากอยู่ในช่วงเวลาแข่งขันจะหยุดเวลาในการแข่งขันและใช้เวลาในการตัดสินไม่เกิน 5 นาที คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด หากทีมใดกระทำการประท้วงโดยไร้เหตุผลและหลักฐานอันสมควรกรรมการอาจพิจรณาตัดสิทธิ์ทีมนั้นได้
10. รางวัลของการแข่งขัน
- 10.1 รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล 15,000 บาท 1 รางวัล
- 10.2 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล 10,000 บาท 1 รางวัล
- 10.3 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล 7,000 บาท 1 รางวัล
- 10.4 รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม เกียรติบัตร และเงินรางวัล 3,000 บาท 2 รางวัล